วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

395 ปี บันทึกของปินโต : หลักฐานประวัติศาสตร์นิพนธ์หรือนิยายผจญภัย


ประวัติของปินโต

ปินโตเป็นชาวเมืองมองเตอมูร์เก่า ใกล้เมืองกูอิงบรา ในราชอาณาจักรโปรตุเกส ปินโตเกิดในครอบครัวยากจนระหว่างค.ศ. 1509-1512 เมื่ออายุประมาณ 10 หรือ 12 ขวบจึงต้องเป็นเด็กรับใช้ของสุภาพสตรีผู้หนึ่ง ในค.ศ. 1523 ชีวิตของเขาตกอยู่ในอันตรายจนต้องหลบหนีลงเรือจากเมืองกูแอ ดึ แปดรา
การผจญภัยของปินโตเริ่มขึ้นเมื่อเดินทางไปถึงเมืองดิว ในอินเดียในค.ศ.1538 อายุ 28 ปี เขาเดินทางกลับมาตุภูมิเมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1558 รวมเป็นเวลา 21 ปีของการแสวงโชคในเอเชีย ปินโตเคยเดินทางไปในเอธิโอเปีย จีน อาณาจักรของชาวตาร์ตาร์ โคชินไชนา สยาม พะโค ญี่ปุ่น และหมู่เกาะอินเดียตะวันออกในน่านน้ำอินโดนีเซียปัจจุบัน


ปินโตเคยเผชิญปัญหาเรืออับปาง 5 ครั้ง ถูกขาย 16 ครั้งและถูกจับเป็นทาสถึง 13 ครั้ง ชีวิตในเอเชียของปินโตเคยผ่านการเป็นทั้งกลาสีเรือ ทหาร พ่อค้า ทูตและนักสอนศาสนา เมื่อเดินทางกลับไปถึงโปรตุเกสในปีค.ศ.1558 เขาจึงพยายามติดต่อขอรับพระราชทานบำเหน็จรางวัล เนื่องจากได้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อชาติและศาสนาอย่างเต็มที่ แต่กลับไม่ได้รับความสนใจจากราชสำนัก ปินโตจึงไปใช้ชีวิตอยู่ที่เมืองปรากัลป์ ทางใต้ของโปรตุเกส ปินโตเขียนหนังสือชื่อ “Pérégrinação”ขึ้น และถูกตีพิมพ์หลังจากเขาถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1583

หลังจากปินโตถึงแก่กรรม บุตรีของเขาได้มอบต้นฉบับหนังสือเรื่อง “Pérégrinação” ให้แก่นักบวชสำนักหนึ่งแห่งกรุงลิสบอน ต่อมากษัตริย์ฟิลิปที่ 1ทรงได้ทอดพระเนตรงานนิพนธ์ชิ้นนี้ บุตรีของปินโตจึงได้รับพระราชทานบำเหน็จรางวัลแทนบิดา

งานเขียนของปินโตตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1614 และแปลเป็นภาษาต่างๆ อาทิ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอังกฤษ ใน ค.ศ.1983 กรมศิลปากรได้เผยแพร่บันทึกของปินโตบางส่วนในชื่อ “การท่องเที่ยวผจญภัยของแฟร์นังด์ มังเดซ ปินโต ค.ศ1537-1558” แปลโดยสันต์ ท. โกมลบุตร ต่อมากรมศิลปากรร่วมกับกรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการได้ตีพิมพ์ผลงานบางส่วนของเขาออกเผยแพร่อีกครั้งใน ค.ศ.1988 โดยแปลจากหนังสือชื่อ “Thailand and Portugal : 470 Years of Friendship”


รูปแบบการนำเสนอ

นำเสนอในรูปของร้อยแก้ว บางตอนก็ระบุว่าเรื่องที่ได้ยินได้ฟังมาจากคำบอกเล่าและการสอบถามผู้รู้ อาทิ เหตุการณ์เมื่อสมเด็จพระไชยราชาธิราชเสด็จสวรรคต บางตอนก็ระบุว่าเป็นผู้มีประสบการณ์ด้วยตนเอง เช่น เหตุการณ์เดินทางเข้ามายังสยาม 2 ครั้ง

นำเสนอในรูปของร้อยแก้ว บางตอนก็ระบุว่าเรื่องที่ได้ยินได้ฟังมาจากคำบอกเล่าและการสอบถามผู้รู้ อาทิ เหตุการณ์เมื่อสมเด็จพระไชยราชาธิราชเสด็จสวรรคต บางตอนก็ระบุว่าเป็นผู้มีประสบการณ์ด้วยตนเอง เช่น เหตุการณ์เดินทางเข้ามายังสยาม 2 ครั้ง เขาระบุว่าอุทิศการทำงานให้แก่พระเจ้ามิได้หวังชื่อเสียง เขาแสดงความขอบคุณพระเจ้าและสวรรค์ที่ช่วยให้รอดพ้นจากภยันตรายมาได้ส่วนเฮนรี โคแกนระบุว่า จุดมุ่งหมายในการแปลหนังสือ“Pérégrinação” จากภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาอังกฤษ คือ ต้องการให้ผู้อ่านทั่วไปเกิดความพึงพอใจและกระตุ้นให้มีการสำรวจและค้นคว้าทางภูมิศาสตร์ เพื่อเป็นบทเรียนให้สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาเรืออับปาง เพื่อทัศนศึกษาดินแดนต่างๆในโลกกว้างและเพื่อเรียนรู้เรื่องราวของ“คนป่าเถื่อน”(Henry Cogan, 1653 : A-B) จุดมุ่งหมายที่จริงจังของทั้งปินโตและโคแกนสะท้อนให้เห็นคุณค่าของเหตุการณ์ สถานที่ ทรัพยากร อารมณ์ ความรู้สึกและวัฒนธรรมอันหลากหลายของผู้คน


คุณค่าทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับราชอาณาจักรสยาม

บันทึกของปินโตนับเป็นเอกสารสำคัญที่กล่าวถึงเรื่องราวส่วนหนึ่งเกี่ยวกับทรัพยากร การทหาร วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ กฎหมายและเรื่องราวในราชสำนักสยามกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 และมักจะถูกอ้างอิงเสมอเมื่อกล่าวถึงบทบาททางการทหารของชุมชนโปรตุเกสในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (ค.ศ.1543-1546) เมื่อเกิดศึกระหว่างสยามกับเชียงใหม่ขึ้นใน ค.ศ.1548 (พ.ศ.2091) ปินโต กล่าวว่า

“ชาวต่างประเทศทุกๆชาติที่ไปร่วมรบกับกษัตริย์สยามนั้นต่างก็ได้รับคำมั่น สัญญาว่าจะได้รับบำเหน็จรางวัล การยกย่อง ผลประโยชน์ ความชื่นชมและเกียรติยศชื่อเสียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะได้รับอนุญาตให้สร้างโบสถ์เพื่อการปฏิบัติศาสนกิจในแผ่นดินสยามได้....” การเข้าร่วมรบในกองทัพสยามครั้งนั้นเป็นการถูกเกณฑ์ หากไม่เข้าร่วมรบก็จะถูกขับออกไปภายใน 3 วัน ด้วยเหตุนี้จึงมีชาวโปรตุเกสถึง 120 คน จากจำนวน 130 คน อาสาเข้าร่วมรบในกองทัพสยาม เหตุการณ์ดังกล่าวถูกบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่าเป็นศึกเมืองเชียงกรานซึ่งเกิดขึ้นในค.ศ.1538 (พ.ศ.2081) คลาดเคลื่อนไปจากที่ระบุในหลักฐานของปินโต 10 ปี แม้ว่าสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพจะทรงอ้างจากหนังสือของปินโตก็ตาม


ความน่าเชื่อถือ

หนังสือของปินโตถูกตีพิมพ์เผยแพร่อย่างกว้างขวางในยุโรป จึงเป็นเหตุให้เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง วิลเลียม คอนเกรฟ (William Congreve, 1670-1729) นักเขียนบทละครชาวอังกฤษได้แทรกบทกวีในบทละครชื่อ “Love for Love” (ค.ศ.1695) เยาะเย้ยว่า “Mendez Pinto was but a type of thee, thou liar of the first magnitude.”
ดับเบิลยู. เอ.อาร์. วูด ชี้ว่าควรจะอ่านงานเขียนของปินโตในฐานะที่เป็นเรื่องราวของชายชราที่ได้เดินทางกลับไปสู่มาตุภูมิอีกครั้งหนึ่งเพื่อความบันเทิง มิใช่เป็นหลักฐานประวัติศาสตร์ที่เขียนขึ้นวันต่อวัน และตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความแม่นยำของปีศักราชในบันทึกชิ้นนี้ด้วย
อย่างไรก็ดี ดึ กัมปุช อดีตกงสุลใหญ่โปรตุเกสเมื่อค.ศ.1936 กลับชี้ว่าหลักฐานของปินโตแสดงให้เห็นว่าเขาเคยเดินทางเข้ามายังสยามจริง สิ่งที่สนับสนุนความน่าเชื่อถือในงานของปินโต คือ การยกงานเขียนในชั้นหลังๆมาเทียบเคียงความเป็นไปได้และความถูกต้องของเรื่องราวโดยเฮนรี โคแกน


หลักฐานของปินโตกับปัญหาในการศึกษาชุมชนโปรตุเกสสมัยอยุธยา

ปินโตระบุว่านักสอนศาสนาก็จำเป็นต้องเผยแพร่ศาสนาภายใต้นโยบายของราชสำนักหรือผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสแห่งเมืองกัวเช่นเดียวกับข้าราชการทั่วไป
ท่านก็ต้องเดินทางจากมะละกาไปยังกัว เพื่อรับฟังนโยบายของผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสแห่งอินเดียเสียก่อน เขาจึงน่าจะเป็นบุคคลที่มีเกียรติพอที่จะได้รับความเชื่อถือจากผู้มีฐานะเป็นศัตรูชาติโปรตุเกสในยุโรปหรือแม้แต่ชาวโปรตุเกสบางคน

เขียนของปินโต “เป็นหลักฐานเชิงจินตนาการ” ปินโตเป็นคนขี้ปด ในคริสต์ศตวรรษที่16 หมายถึง สัตว์ป่า หรือ สัตว์เลี้ยงที่กลายเป็นสัตว์ป่า แปลคำว่า “abada คือ สัตว์ป่าชนิดหนึ่ง” ซึ่งถือเป็นหลักฐานสำคัญในการโต้แย้ง ส่วนบาร์โบซา (Duarte Barbosa) จูอาว ดึ บารอส (João de Baros ) และ คาสปาร์ คอร์รีอา (Caspar Correa) ต่างก็ใช้คำว่า “ganda” ซึ่งมาจากรากศัพท์ภาษาสันสกฤต แปลคำว่า “abada คือ สัตว์ป่าชนิดหนึ่ง”ในคริสต์ศตวรรษที่17 ดังนั้น “abada” ในบันทึกของปินโตจึงถูก ฟิกูอิเยร์และโคแกนแปลว่า “แรด” ในเวลาต่อมา ปินโตจะใช้คำว่า “abada” เมื่อกล่าวถึง “จามรี(yaks)”เพราะไม่มีศัพท์ดังกล่าวใน ภาษาโปรตุเกส และใช้คำภาษาอาหรับว่า “abida


สรุป

งานนิพนธ์ของปินโตมีคุณค่าในทางประวัติศาสตร์มากกว่าจะถูกมองว่าเป็นเพียงวรรณกรรมประโลมโลกหรือนิยายผจญภัยของกลาสีเรือ
แต่ในสภาวะที่ยุโรปเพิ่งจะพ้นจากยุคแห่งการจุดไฟเผาหญิงสาวที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นแม่มดและยังคงเคร่งต่อจริยธรรมทาง ศาสนา

งานของปินโตถูกตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความแม่นยำของศักราชก็เพราะบันทึกของเขาเป็นเอกสารที่เขียนขึ้นจากความทรงจำเมื่อเขาเดินทางกลับไปใช้ชีวิตอยู่ในโปรตุเกสระยะหนึ่งแล้ว
แต่ต่อมานักประวัติศาสตร์บางท่านก็เคยตั้งข้อสงสัยต่อสถานภาพกังกล่าว ซึ่งถือเป็นความไม่เที่ยงของหลักฐาน ในมางกลับกันอาจจะมีผู้ใช้บันทึกของปินโตมาตรวจสอบความแม่นยำของเอกสารฉบับใดฉบับหนึ่งอย่างจริงจังในอนาคตก็ได้

วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553



ประวัติตลาดร่มหุบ


ตลาดร่มหุบ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ตลาดแม่กลอง แต่ชาวบ้านมักจะเรียกว่า ตลาดเสี่ยงตายเป็นตลาดอยู่กับสถานีรถไฟแม่กลอง และก็เป็นส่วนหนึ่งของตลาดเทศบาลจังหวัดสมุทรสงคราม ตลาดร่มหุบ เริ่มมาตั้งขายบริเวณทางริมรถไฟ ประมาณปี พ.ศ. 2527 เป็นตลาดที่อยู่บนทางรถไฟ สายแม่กลอง – บ้านแหลม พ่อค้า แม่ค้า ตั้งแผงสองข้างทางรถไฟ ส่วนลูกค้าก็อาศัยทางรถไฟเป็นถนน สำหรับจับจ่ายซื้อของ นักท่องเที่ยวหลายคนใช้วิธีท่องเที่ยว โดยการมาขึ้นรถไฟที่สถานีรถไฟบ้านแหลม มายังสถานีรถไฟแม่กลอง สีสันของตลาดนี้ คือ เมื่อได้ยินเสียงระฆัง หรือ ธงที่โบก จากนายสถานี พ่อค้า แม่ค้า ก็จะเก็บแผงที่ขายรวมทั้งร่มที่กางอยู่ พอรถไฟผ่านไปพ่อค้า แม่ค้า ก็จะวางแผงขายของกันเหมือนเดิม





จุดเด่นของตลาดร่มหุบ


จุดเด่นของตลาดนะคะ ก็คือ ขายตามรางรถไฟ



เวลารถไฟมาแม่ค้าทุกร้านก็ต้องเก็บของหลบรถไฟ ทุกร้านและทุกร้านจะเก็บเป็นระบบ


และก็หุบร่มแบบที่เห็นนี่แหละคะ


การนำเที่ยว


นั่งรถไฟเที่ยว นอนโฮมสเตย์ แม่กลอง

การรถไฟแห่งประเทศไทย ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดโครงการท่องเที่ยว "เที่ยวรถไฟครึกครื้น เศรษฐกิจไทยคึกคัก" โดยได้เปิดเส้นทางท่องเที่ยวรถไฟสายแม่กลองเป็นประจำทุกวันเสาร์ เริ่มตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป โดยมีทั้งแบบไปเช้าเย็นกลับ และ 2 วัน 1 คืน

ขบวนรถไฟเริ่มออกเดินทางจากสถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ มุ่งหน้าสู่มหาชัย ตลาดอาหารทะเลที่มีให้เลือกทั้งอาหารทะเลสด ๆ และอาหารแห้ง จากนั้นลงเรือxxxมฟากมายังสถานีบ้านแหลมเพื่อต่อรถไฟไปยังสถานีแม่กลอง ชมตลาดร่มหุบ หนึ่งใน UNSEEN THAILAND เพิงค้าริมทางรถไฟที่หุบร่มได้เมื่อรถไฟแล่นผ่าน

ล่องเรือชมวิถีชีวิตริมคลองชาวอัมพวา ชมการทำน้ำตาลมะพร้าว ขนมไทย เครื่องจักรสาน แวะเที่ยวตลาดอัมพวายามเย็น พักผ่อนในโฮมสเตย์บ้านเรือนไทย สูดอากาศสดชื่นยามเช้าเพื่อใส่บาตรพระที่พายเรือมารับบาตรถึงหน้าบ้าน ล่องเรือเที่ยวป่าชายเลนคลองโคน ให้อาหารลิงที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ แวะบ้านขนมไทย ชมฟาร์มหอยแครง ปลูกป่าชายเลน ถีบกระดานเลน

อัตราค่าบริการ โปรแกรมเช้าไป-เย็นกลับ ผู้ใหญ่/เด็ก คนละ 499 บาท (ราคานี้รวมค่าโดยสารรถตู้ปรับอากาศแล้ว)แบบ 2 วัน 1 คืน ผู้ใหญ่/เด็ก คนละ 1,399 บาท

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 0 2621 8701 ต่อ 5217 หรือ Call Center 1690,



รายละเอียดโปรแกรมแบบ 2 วัน 1 คืน

วันเสาร์

07.40 น. ขบวนรถท่องเที่ยวนำนักท่องเที่ยวออกเดินทางจากสถานีวงเวียนใหญ่

08.39 น. ถึงสถานีมหาชัย ชมตลาดสดมหาชัย ซื้ออาหารทะเลแห้งจากแหล่งผลิต แล้วลงเรือยนต์xxxมฟากมายังสถานีบ้านแหลม

10.00 น. เดินทางจากสถานีบ้านแหลมสู่สถานีแม่กลอง

11.00 น. ถึงสถานีแม่กลอง ชมตลาดร่มหุบ (UNSEEN THAILAND) และรับประทานอาหารกลางวันตามอัธยาศัย เที่ยววัดเพชรสมุทรวรวิหาร กราบนมัสการหลวงพ่อบ้านแหลม พระคู่บ้านคู่เมืองแม่กลอง

13.30 น. ลงเรือไปพักที่บ้านริมคลองโฮมสเตย์ ชมการทำน้ำตาลมะพร้าว ร่วมทำขนมไทย การทำปุ๋ยอินทรีย์ เครื่องจักรสานต่าง ๆ หมวก ตะกร้าจากใบมะพร้าว ชมวิถีชีวิตชุมชน

17.00 น. ลงเรือชมทิวทัศน์แม่น้ำแม่กลอง พร้อมทานอาหารเย็นบนเรือไปตลาดน้ำอัมพวา ชมการแสดงดนตรีไทยท่ามกลางบรรยากาศเงียบสงบ และชมหิ่งห้อยใต้ต้นลำภู

21.00 น. ถึงบ้านพัก พักผ่อนตามอัธยาศัย

วันอาทิตย์

07.00 น. รับประทานกาแฟ ปาท่องโก๋

07.30 น. ใส่บาตรพระทางเรือ

08.00 น. รับประทานอาหารเช้า (ข้าวต้ม)

08.30 น. เดินทางโดยรถยนต์ท้องถิ่นไปคลองโคน

09.00 น. นั่งเรือชมป่าชายเลน เที่ยวแม่น้ำบางตะบูน

10.00 น. ชมการทำหอยจ้อ รับประทานก๋วยเตี๋ยวเรือ

11.00 น. แวะบ้านขนมไทย ซื้อของฝาก

11.30 น. ชมฟาร์มหอยแครง หอยแมลงภู่ ปลูกป่าชายเลน ถีบกระดานเลน เล่นโคลน โดดน้ำ

12.30 น. รับประทานอาหารกลางวัน ข้าวห่อใบตอง

14.00 น. ขึ้นรถยนต์กลับไปสถานีรถไฟแม่กลอง

15.30 น. ถึงสถานีรถไฟแม่กลอง เดินทางกลับสถานีบ้านแหลม ลงเรือข้ามฟากมาฝั่งมหาชัย

17.35 น. ขบวนรถไฟออกจากสถานีมหาชัย กลับกรุงเทพฯ

18.25 น. ถึงสถานีวงเวียนใหญ่โดยสวัสดิภาพ

อัตราค่าบริการ ผู้ใหญ่/เด็ก คนละ 1,399 บาท

โปรแกรมเช้าไป-เย็นกลับ

07.40 น. ขบวนรถท่องเที่ยวพานักท่องเที่ยวเดินทางออกจากสถานีวงเวียนใหญ่

08.39 น. ถึงสถานีมหาชัย ชมตลาดสดมหาชัย ซื้ออาหารทะเลแห้งจากแหล่งผลิต แล้วลงเรือยนต์xxxมฟากมายังสถานีบ้านแหลม

10.00 น. เดินทางจากสถานีบ้านแหลมสู่สถานีแม่กลอง

11.10 น. ถึงสถานีแม่กลอง ชมตลาดร่มหุบ (UNSEEN THAILAND) และรับประทานอาหารกลางวันตามอัธยาศัย เที่ยววัดเพชรสมุทรวรวิหาร กราบนมัสการหลวงพ่อบ้านแหลม พระคู่บ้านคู่เมืองแม่กลอง

11.30 น. ลงเรือท่าเรือวัดเพชรสมุทรฯ ไปคลองผีหลอก ถึงบ้านริมคลองโฮมสเตย์ ชมการทำน้ำตาลมะพร้าว การทำขนมไทย การทำปุ๋ยอินทรีย์ เครื่องจักรสาน ดอกไม้ใบเตย

12.30 น. ไปตลาดน้ำบางน้อย เรือนแถวโบราณอายุกว่าร้อยปี เลือกซื้ออาหาร และของฝากตามอัธยาศัย

14.30 น. ลงเรือไปวัดบางแคน้อย ชมศิลปะไม้ฝังไม้กระดาน 7 แผ่น

15.30 น. เที่ยวตลาดน้ำอัมพวา ตลาดน้ำคลาสสิกสุด ๆ และตลาดมูลนิธิชัยพัฒนานุรักษ์ ซื้อของฝากและรับประทานอาหารเย็นตามอัธยาศัย

18.30 น. เดินทางกลับกรุงเทพฯ โดยรถตู้ปรับอากาศ

20.00 น. ถึงกรุงเทพฯ โดยสวัสดิภาพ

อัตราค่าบริการ ผู้ใหญ่/เด็ก คนละ 499 บาท (ราคานี้รวมค่าโดยสารรถตู้ปรับอากาศแล้ว)



อาหารขึ้นชื่อ




“ปลาทูแม่กลอง” ที่มีเอกลักษณ์ตรง “หน้างอ คอหัก”ได้ชื่อว่าเป็นยอดปลาทู เพราะมีรสชาติอร่อยอันดับต้นของเมืองไทย เป็นที่ถูกปากของผู้ที่ได้ลิ้มรสกันมาอย่างยาวนาน ถือเป็นของดีขึ้นหน้าขึ้นตาของจังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งในทุกๆ ปี ทางจังหวัดสมุทรสงครามจะจัดให้มี “เทศกาลกินปลาทูและของดีเมืองแม่กลอง” ขึ้นเพื่อให้นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปได้สัมผัสกับปลาทูแม่กลองและของดีของแม่กลองอีกมากมาย



การเดินทางไปตลาดร่มหุบ

1. รถส่วนตัวจากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 35 ถนนพระราม 2 (ถนนธนบุรี-ปากท่อ เดิม) ไปถึงหลัก กม.ที่ 63 ชิดซ้าย ใช้ทางคู่ขนานต่างระดับ เข้าตัวเมืองสมุทรสงครามถึงสี่แยกแรกตรงไปเข้าตัวตลาดถึงสี่แยกที่สอง(แยก โรงพยาบาล สมเด็จพระพุทธเลิศหล้า) เลี้ยวขวาและตรงไป ข้ามทางรถไฟ ก็จะถึง ตลาดแม่กลอง หรือตลาดรถไฟ


2. รถไฟ รถไฟไปแม่กลอง จะเริ่มจากวงเวียนใหญ่ (นั่งจากหัวลำโพงไม่ได้) โดยไปลงที่มหาชัย และจากมหาชัยนั่งเรือข้ามฟากไปฝั่งท่าฉลอม เพื่อขึ้นรถไฟต่อจากสถานีบ้านแหลมไปยังแม่กลอง(ปลายทาง)ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง ค่าโดยสาร 10บาท(ตอนนี้ฟรี) ถ้าคุณอยู่ที่โบกี้สุดท้าย แล้วมองผ่านกระจกหลังรถออกไป เวลาผ่าน ตลาด พอรถไฟผ่านไป พ่อค้าแม่ค้าก็จะกลับมาตั้งร้านเหมือนเดิม ชนิดไล่หลังรถไฟกันเลยทีเดียว
รถไฟขบวนนี้เป็นสายสั้น จากสถานีมหาชัยถึงสถานีแม่กลอง (จำนวน 2 โบกี้) กำหนดเวลาเดินรถไฟสายแม่กลอง-บ้านแหลม
รถไฟจะผ่านเข้าออกสถานีแม่กลองและตลาดร่มหุบวันละ 8 รอบ ตามเวลาดังนี้
รถไฟจะผ่านเข้าสถานีแม่กลองเวลา: 08:30 , 11:10, 14:30, 17:40
รถไฟจะออกจากสถานีแม่กลองเวลา: 06:20 , 09:00, 11:30, 15:30





3.รถประจำทาง,รถตู้บริษัท ขนส่ง จำกัด เปิดบริการเดินรถกรุงเทพฯ-สมุทรสงคราม ลงที่ตลาดแม่กลองได้เลย โดยมีรถจากสถานี ขนส่งสายใต้ ตั้งแต่เวลา 05.50-21.00 น. โทร. 0 2435 1199, 0 2435 5605 รถปรับอากาศ (ดำเนินทัวร์) โทร. 0 2435 5031 หรือที่เว็บไซต์ www.transport.co.th หรือนั่งรถตู้จากอนุสาวรีย์ชัย สายแม่กลอง มีรถออก ทุกชั่วโมง ไปลงที่ตลาดแม่กลอง



วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ตลาดน้ำเมืองรังสิต

ตลาดน้ำเมืองรังสิต ตั้งอยู่ริมคลองรังสิต คลอง 1 ถนนรังสิต-นครนายก อำเภอธัญบุรี ห่างจากศูนย์การค้าฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต เพียง 1 กิโลเมตร ที่ตลาดน้ำมีทั้งหมด 11 แพด้วยกัน และแต่ละแพได้ตั้งชื่อแพเป็นดอกบัวพันธุ์ต่าง ๆ อาทิ ปุทมา บุณฑริก เป็นต้น มีทั้งหมด 11 แพด้วยกัน
แพที่ 1-2
จัดแสดงนิทรรศการการบอกเล่าเรื่องราวตั้งแต่อดีต ประวัติความเป็นมา
วิถีชีวิตของชุมชนริมฝั่งคลองรังสิตประยูรศักดิ์
แพที่ 3
จัดจำหน่ายสินค้าโอทอป จากชุมชนในเขตเทศบาลเมืองรังสิต อาทิ น้ำมันมะพร้าว ขี้ผึ้งสมุนไพร
แพที่ 4-10
จำหน่ายอาหารคาวหวานมากมาย โดยเฉพาะก๋วยเตี๋ยวเรือเมืองรังสิตที่ขึ้นชื่อมานาน
แพที่ 11
เป็นการบริการนวดแผนไทย โดยกลุ่มแม่บ้านในเขตเทศบาลเมืองรังสิต

ตลาดน้ำรังสิต เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลาประมาณ 10.00-17.00 น.

การเดินทาง นั่งรถประจำทางปรับอากาศ สาย 538 และ สาย 559, รถประจำทางสาย 188 หรือรถโดยสาร บขส. สายปราจีนบุรี-รังสิต-องครักษ์

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เทศบาลเมืองรังสิต โทร. 0 2567 6000-6 http://www.rangsit.org/

การก่อตั้งตลาดน้ำเมืองรังสิต คุณเดชา กลิ่นกุสุม นายกเทศมนตรีเมืองรังสิตอ. ธัญบุรี จ.ปทุมธานี ซึ่งเป็นตัวแทนประชาชนในพื้นที่ ที่มีลำน้ำสำคัญหลายสายไหลผ่าน จึงให้ความสำคัญกับการส่งเสริมรายได้ด้านการท่องเที่ยวด้วยการค้าขายริมน้ำ เป็นพิเศษ เขาจึงได้จัดโครงการ “ตลาดน้ำเมืองรังสิต“ ขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและเป็นแหล่งรวบรวมอาหารรสดี ของ จ.ปทุมธานี รวมทั้งเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจอันน่ารื่นรมย์อีกด้วย สำหรับเป้าหมายในการดำเนินการ คือ ต้องการให้ประชาชนมีรายได้จากการผลิตสินค้าออกมาจำหน่าย ให้แก่นักท่องเที่ยว เมื่อประชาชนมีรายได้ มีอาชีพที่สุจริต ปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาสังคมและอาชญากรรม ก็จะลดน้อยลงไปด้วย

ส่วน การจัดโครงการตลาดน้ำนั้น ในระยะแรกจะมีการจัดพื้นที่บริเวณคลองรังสิตช่วงสะพานแดง โดยจัดสร้างเป็นศาลาทรงไทยลอยอยู่ในคลองรังสิต จำนวน 11 ศาลา เพื่อให้ผู้ค้า และลูกค้ามาค้าขาย และใช้้บริการได้อย่างเต็มที่ แม้จะเพิ่งดำเนินการไปได้ไม่นาน แต่ก็มีนักท่องเที่ยวเข้ามาซื้อหาสินค้าจำนวนมาก โดยเฉพาะวัน เสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ ดังนั้น จึงมีโครงการที่จะขยายพื้นที่ออกไปอีกตั้งแต่สะพานแดง คลอง 1 ยาวตลอดแนวลำคลองรังสิตไปจนถึงสะพานโรงสีเท่ากับว่า เมื่อโครงการเสร็จสิ้นสมบูรณ์ จะ มีพื้นที่ตลาดน้ำยาวกว่า 2.5 กิโลเมตรเลยทีเดียว

ทั้งนี้ ภายในโครงการตลาดน้ำยังมีการจัดการแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับการเสด็จพระราช ดำเนินไปทรงเปิดศาลาว่าการเมืองธัญญบุรีของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว รัชกาลที่ 5 ผู้ทรงริเริ่มให้มีการขุดคลองรังสิตขึ้นมา

ทั้งยังมีการนำเสนอประวัติความเป็นมา ของคลองรังสิตประยูรศักดิ์และวิถีชีวิตของชาวบ้านริมคลองรังสิตอันเป็นการ น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีอย่างมหาศาลต่อปวงชนชาวไทย

ที่ขาดไม่ได้เลยคือ การสืบสานตำนาน "ก๋วยเตี๋ยวเรือรังสิต" ที่มีชื่อเสียงไปทั่วประเทศ รวมทั้งส่วน แสดงสินค้าพื้นบ้านต่างๆ ทั้งอาหารพื้นบ้าน ขนมพื้นบ้าน รวมทั้งงานศิลปะ และผลิตภัณฑ์ชุมชนต่างๆ ที่ขึ้นชื่อของ จ.ปทุมธานี